ดูแลความปลอดภัยเด็กนักเรียนหน้าโรงเรียน
เจ้าหน้าที่ ชรบ. จัดเวรยามช่วงเช้าและเย็นหน้าโรงเรียน ช่วยอำนวยความสะดวกจราจรและดูแลความปลอดภัย ในพื้นที่เสี่ยง
ศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เรามุ่งมั่นในการปกป้อง ดูแล และสร้างความปลอดภัยให้กับหมู่บ้าน
ด้วยความร่วมมือระหว่างประชาชนและภาครัฐ เพื่อให้ทุกพื้นที่เป็นที่อยู่ที่อุ่นใจสำหรับทุกคน
"ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน" หมายความถึง ราษฎอาสาสมัครในพื้นที่ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายอำเภอให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน และให้เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ เรียกโดยย่อว่า “ชรบ.”
ทุกภารกิจคือความตั้งใจของชรบ. เพื่อหมู่บ้านของพวกเรา
ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านหรือ ชรบ.
จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
หรือคำสั่งที่กำหนดไว้
ติดตามความเคลื่อนไหว กิจกรรมและโครงการต่างๆ ของชรบ.
รวมภารกิจสำคัญที่สะท้อนความเสียสละ ความกล้าหาญ และความร่วมมือของ ชรบ. ในการปกป้องและดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้าน
เจ้าหน้าที่ ชรบ. จัดเวรยามช่วงเช้าและเย็นหน้าโรงเรียน ช่วยอำนวยความสะดวกจราจรและดูแลความปลอดภัย ในพื้นที่เสี่ยง
เมื่อเกิดอุทกภัยในพื้นที่ ชรบ. เร่งเข้าช่วยเหลือผู้สูงอายุ เคลื่อนย้ายคนเจ็บและอำนวยความสะดวกด้านการ จราจรร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น
ชรบ. ประจำหมู่บ้านร่วมกับชาวบ้านจับตา ความเคลื่อนไหวผิดปกติและสามารถสกัดจับผู้ต้อง สงสัยก่อนเกิดเหตุร้าย สร้างความอุ่นใจให้ชุมชน
รวมภาพการปฏิบัติงาน กิจกรรมชุมชน และภารกิจต่าง ๆ ของชรบ. ที่สะท้อนความร่วมแรงร่วมใจเพื่อความปลอดภัยของหมู่บ้าน
ผู้ที่สนใจสมัครเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐาน และไม่มีลักษณะต้องห้าม โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ในวันที่สมัครเข้ารับการฝึกอบรม
3. มีภูมิลำเนา/ถิ่นที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นไม่น้อยกว่า 3 เดือน
4. เป็นผู้มีความประพฤติดี
5. เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. สุขภาพร่างกายแข็งแรง สามารถเข้าฝึกการอบรมได้
1. ผู้ใหญ่บ้านพิจารณาคัดเลือกราษฎรที่ผ่านการฝึกอบรม ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
2. ผู้ใหญ่บ้านเสนอรายชื่อให้นายอำเภอพิจารณาแต่งตั้งเป็น ชรบ.
1. ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ อันเป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรม
2. ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษหรือพัวพันกับยาเสพติดให้โทษ
3. ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
1. จากระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการช่วยเหลือเจ้าพนักงานของหน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2568
2. ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยชุดปฎิบัติการนอกเครื่องแบบชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน พ.ศ. 2565
3. ประกาศกระทรวงมหาไทยกำหนดวันที่ 16 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน