หมวดที่ 2

โครงสร้างและการจัดหน่วย

ระดับจังหวัด

ในระดับจังหวัด ให้มีกองบังคับการหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน โดยมี

1.ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชา,

2.รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองผู้บังคับบัญชา,

และมีปลัดจังหวัด เป็นผู้ช่วยบังคับบัญชา

หน้าที่ของกองบังคับการฯ คือ

- ป้องกัน/ปราบปรามภัยในจังหวัด,

- ควบคุมหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน,

- สั่งกำลังพลตามความเหมาะสม โดยใช้เจ้าหน้าที่ของจังหวัดที่เกี่ยวข้อง

กล่าวคือ เป็นโครงสร้างระดับจังหวัดที่สนับสนุนและควบคุมการทำงานของ ชรบ. ทั้งระบบ

ระดับอำเภอ

ในระดับอำเภอ ให้มีกองพันหน่วยรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน โดยมี

1.นายอำเภอ เป็นผู้บังคับกองพัน

2.ปลัดอำเภอ, นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และข้าราชการในพื้นที่ ที่นายอำเภอแต่งตั้ง เป็น รองผู้บังคับกองพัน

มีการแบ่งฝ่ายต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการทำงาน ได้แก่

- ฝ่ายยุทธการและการข่าว

- ฝ่ายกิจการมวลชน

- ฝ่ายกำลังพลและส่งกำลังบำรุง

- ฝ่ายสื่อสารและงบประมาณ

เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายมาจากข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างในสังกัดอำเภอที่นายอำเภอเห็นสมควรให้รับผิดชอบประจำฝ่ายนั้น ๆ

หน้าที่หลักของแต่ละฝ่าย คือช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานของกองพัน ชรบ. ในระดับอำเภอ

ระดับตำบล

ใน 1 ตำบล ให้มีกองร้อย ชรบ. โดยมีโครงสร้าง ดังนี้

1. ปลัดอำเภอประจำตำบล เป็น ผู้บังคับกองร้อย ชรบ.

2. ข้าราชการอื่นตามที่นายอำเภอแต่งตั้ง เป็น

      2.1 รองผู้บังคับกองร้อย ชรบ. ฝ่ายยุทธการและการข่าว

      2.2 รองผู้บังคับกองร้อย ชรบ. ฝ่ายกิจการมวลชน

      2.3 รองผู้บังคับกองร้อย ชรบ. ฝ่ายกำลังพลและส่งกำลังบำรุง

      2.4 รองผู้บังคับกองร้อย ชรบ. ฝ่ายสื่อสารและงบประมาณ

3. กำนันในตำบล เป็น ผู้ช่วยผู้บังคับกองร้อย ชรบ.

ระดับหมู่บ้าน

ในหมู่บ้านหนึ่ง ให้มีหมวด ชรบ. โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้บังคับหมวด ชรบ. และให้มีทหาร
ตำรวจ หรือ อส. จำนวน 2 คน เป็นเจ้าหน้าที่โครง ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บังคับหมวด ชรบ.

ในหนึ่งหมวด ชรบ. ให้แบ่งการปกครองบังคับบัญชาออกเป็นอย่างน้อย ๒ หมู่ ชรบ. เรียกว่า

- หมู่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ที่ 1

- หมู่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ที่ 2

- หมู่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ที่ ....ตามลำดับ

โดยให้ ผช.ผญบ. เป็นผู้บังคับหมู่ ชรบ.

ใน 1 หมู่ ชรบ. ให้มีจำนวน ชรบ. ตั้งแต่ 7 - 15 คน (พิจารณาจากอัตรากำลังพลและสถานการณ์ในพื้นที่)